มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทย ซึงเยาวชนรุ่นหลังควรจะอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของชาติต่อไป นักเรียนควรเรียนรู้และ ฝึกปฏิบัติจริง เพื่อเพื่อการป้องกันตัว และส่งเสริมกายออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแข็งแรง เป็นการปลูกฝังมรดกและวัฒนธรรมของชาติไว้ให้เด็กไทยต่อไป
ในปี 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงครั้งที่ 2 แก่พม่า พม่าได้เผาเมืองและกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลย นายขนนต้ม เป็นคนไทยคนหนึ่งที่ถูกจับไปครั้งนั้น ได้ชกกับพม่าเป็นคนแรก โดยนักมวยพม่าฝีมือดีจัดไว้ 10 คน นายขนนต้มสามารถเอาชนะนักมวยพม่าได้ ถึงกับกษัตริย์พม่า ได้กล่าวคำชมเชยว่าคนไทยมี พิษอยู่รอบตัวและกล่าวยกย่องชมเชยนายขนนต้มว่า “ เป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือยอดเยี่ยมสามารถใช้อาวุธ หมัด เท้า เข่า ศอก ถีบ ทำให้คู่ต่อสู้ได้รับความเจ็บปวดแสนสาหัส มีความทรหดอดทนเป็นเยี่ยม หาศิลปะของประเทศใด มาเสมอเหมือน มิได้”
ท่าแม่ไม้มวยไทย (ขั้นพื้นฐาน)
1. ท่าไหว้ครู (หงส์เหิร)
2. หมัด
- หมัดตรง (แย็บ) ซ้าย-ขวา
- หมัดสอยดาว (เสย) ซ้าย-ขวา
- หมัดเหวี่ยง (สวิง) ซ้าย-ขวา
3. เท้า
- เตะล่าง (เท้าขวา , เท้าซ้าย)
- เตะลำตัว (เท้าขวา , เท้าซ้าย)
- เตะขึ้นตรง เท้าขวา
4. ถีบ
- เท้าถีบด้านหน้า (เหน็บ)
- เท้าซ้ายถีบด้านข้าง
5. เข่า
- เข่าขวาตรง (โทน)
6. ศอก
- ศอกขวาตีลง
- ศอกซ้ายตีลง
- ศอกซ้ายตัด
- ศอกขวาตัด
- ศอกงัดซ้าย - ศอกงัดขวา
จากแม่ไม้ลุกไม้มวยไทยป้องกันอาวุธจากหมัด,เท้า,เข่า,ศอก และถีบ
ป้องกันอาวุธจากหมัด 2 ท่าคือ
1. หนุมานถวายแหวน
2. หักคอเอราวัณ
ป้องกันอาวุธจากเท้า 2 ท่าคือ
1. จระเข้ฟาดหาง
2. เถรกวาดลาน
ป้องกันอาวุธจากเข่า 2 ท่า คือ
1. ปักษาแหวกรัง
2. ตะเพียนแฝงตอ
ป้องกันอาวุธจากศอก 2 ท่าคือ
1. หนุมานเหยียบลงกา
2. หักงวงไอยรา
ป้องกันอาวุธจากถีบ 2 ท่าคือ
1. มอญยันหล
2. กวางเหลียวหลัง