วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีความเสมอภาคหรือทฤษฎีความเท่าเทียมกันของ Adams
(Adam’s Equity  Theory)
ทฤษฎีนี้ กล่าวว่า บุคคลจะมีการเปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างปัจจัยนำเข้าของตนเอง ( เช่น ความพยายาม ประสบการณ์ การศึกษา และความสามารถ) และผลลัพธ์ของตนเอง (เช่น ระดับเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง การยกย่อง และปัจจัยอื่นกับบุคคลอื่น) J. Stacy Adams  กล่าวว่า บุคคลจะประเมินผลลัพธ์ที่เขาได้รับจากการทำงานของตนกับบุคคลอื่น  ความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคจะเกิดขึ้น  เมื่อบุคคลรู้สึกว่ารางวัลที่เขาได้รับจากการทำงานมีความไม่เหมาะสมโดยเปรียบเทียบกับรางวัลที่บุคคลอื่นได้รับจากการทำงาน  ซึ่งจะก่อให้เกิดผลในเชิงลบ  โดยอาจทำให้บุคคลทุ่มเทให้กับการทำงานน้อยลงหรือตัดสินใจลาออกก็ได้  การประยุกต์ใช้ทฤษฎีนี้เสนอแนะว่าบุคคลควรได้รับรู้ถึงรางวัล (ผลลัพธ์จากการทำงานที่เหมาะสมและเท่าเทียมกัน  ลักษณะสำคัญของทฤษฎีความเสมอภาคภาคแสดง            ดังสมการ   

ผลลัพธ์ (Output) ของบุคคลหนึ่ง   =  ผลลัพธ์ (Output) ของอีกบุคคลหนึ่ง
ปัจจัยนำเข้า (Input)  ของบุคคลหนึ่ง    ปัจจัยนำเข้า (Input) ของอีกบุคคลหนึ่ง

ความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคเชิงลบ (Felt negative inequity) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึกว่าเขาได้รับความยุติธรรมน้อยกว่าบุคคลอื่น
ความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคเชิงบวก (Felt positive inequity) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึกว่าเขาได้รับความยุติธรรมมากกว่าบุคคลอื่น
             ความไม่เสมอภาคจะเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อที่จะสร้างความเท่าเทียมกันซึ่งบุคคลอาจจะแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

1.  เปลี่ยนแรงพยายามที่ใส่ลงไปเช่นลดความพยายามในการทำงาน,มาสาย,ขาดงาน

2. ปรับหรือเปลี่ยนรางวัลที่เขาได้รับเช่นขอขึ้นเงินเดือนหรือขอเลื่อนตำแหน่ง
                                  
3. ล้มเลิกการเปรียบเทียบ โดยลาออกจากงาน
                                                                              
4. เปลี่ยนจุดเปรียบเทียบโดยเปรียบเทียบตัวเองกับผู้ร่วมงานคนอื่น

ขั้นตอนในการบริหารกระบวนการความเสมอภาค
(Steps for managing the equity process)  มีดังนี้  
   (1) ยอมรับว่าการเปรียบเทียบความเสมอภาค (Equity comparisons) เป็นสิ่ง
        ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในที่ทำงาน

        (2) คาดว่าความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคเชิงลบ (Felt negative inequities)
              จะเกิดขึ้นเมื่อมีการให้ รางวัล

        (3) สื่อสารถึงการประเมินที่ชัดเจนของการให้รางวัล

        (4) สื่อสารถึงการประเมินผลการทำงานซึ่งมีเกณฑ์การให้รางวัล

        (5) สื่อสารถึงความเหมาะสมของประเด็นที่เปรียบเทียบในสถานการณ์นั้น

การเปรียบเทียบความเสมอภาคกับการจัดสรรรางวัลมีผลกระทบต่อผู้ถูกจูงใจ  ผู้บริหารจะต้องหาวิธีการให้ผู้ถูกจูงใจเกิดการรับรู้ว่ารางวัลนั้นพิจารณาจากผลลัพธ์ที่แท้จริง  โดยผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพมีแนวความคิดการจัดการกับการเปรียบเทียบความเสมอภาค 5 ประการดังกล่าวข้างต้นและจากการวิจัยพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น คือ บุคคลจะคาดคะเนผลประโยชน์ของตนหรือคาดหวังรางวัลที่ได้รับเกินจริง  ทำให้พนักงาน   อาจรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคในบางครั้ง  อย่างไรก็ตามความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคนี้จะมีผลต่อปฏิกิริยาบางประการ  ตัวอย่างเช่น พนักงานอาจจะโกรธหรือตัดสินใจทิ้งงาน  เพราะเกิดความรู้สึกว่ารางวัลที่ได้รับไม่ยุติธรรม  เมื่อเปรียบเทียบกับรางวัลของบุคคลอื่น

ทฤษฎีความเสมอภาค (Equity Theory)
J. Stacy Adams กล่าวว่า ปกติคนเราจะแสวงหาความยุติธรรมในการทำงานโดยการเปรียบเทียบผลงานที่เรา   อุทิศให้กับองค์การกับสิ่งที่ได้รับตอบแทนจากองค์กร ถ้าเราคิดว่าเรายังรับน้อยกว่าคนอื่นเราก็จะรู้สึกตึงเครียด เกิดความรู้สึกลำเอียง และส่งผลต่อแรงจูงใจที่จะกระทำ แต่ถ้าเรารับรู้ว่าสิ่งที่เราได้รับเป็นสัดส่วนที่เท่ากับรางวัลและเท่ากับคนอื่น ๆ เราก็จะอยู่ในระดับที่เสมอภาคเป็นธรรม ประกอบด้วยหลัก 4 ส่วน ได้แก่

1) คนเราเห็นตัวเองโดยการเปรียบเทียบคนอื่น คนใดที่ทำการสังเกตจะเรียกว่า ตัวเอง (Person)

2) คนเราเปรียบเทียบตัวเองกับอีกคนหนึ่ง  คน ๆ นั้นเรียกว่า คนอื่น (Other)

3) ทรัพย์สินทุกอย่างที่คนนำมาใช้ในงาน หมายถึง ต้นทุน (Input)   ได้แก่ ความรู้ส่วนบุคคล            สติปัญญา ประสบการณ์ ทักษะ ความอาวุโส ระดับความพยายาม และสุขภาพ เป็นต้น

4) ประโยชน์ที่คนได้จากการทำงานเปรียบเป็นผลลัพธ์ (Outcome) ได้แก่ เงินเดือน ผลประโยชน์ สภาพการทำงาน สถานภาพ และข้อได้เปรียบโดยอาวุโส เป็นต้น
Adams ได้เสนอความไม่เท่าเทียมไว้ 2 ประเภท 

1. ไม่เท่าเทียมด้วยค่าตอบแทนที่น้อยกว่า (Underpayment inequity) คือ เมื่อตัวเองรู้ว่าได้ผลลัพธ์จากงานต่ำกว่าคนอื่น เมื่อเปรียบเทียบจากข้อมูลที่ให้ไป ตัวอย่างความไม่เท่าเทียมด้วยค่าตอบแทนที่น้อยกว่า คือ ตัวเอง 50:50  คนอื่น 50:75
2. ไม่เท่าเทียมด้วยค่าตอบแทนที่สูงกว่า (Overpayment inequity) คือ เมื่อตัวเองรู้ว่าได้ผลลัพธ์ที่สูงกว่าคนอื่น    เมื่อเปรียบเทียบจากต้นทุนที่ให้ไป ตัวอย่างความไม่เท่าเทียมด้วยค่าตอบแทนที่สูงกว่า คือ ตัวเอง 50:75   คนอื่น 50:50

Adams เชื่อว่า คนสามารถเปลี่ยนระดับแรงจูงใจเพื่อดึงความรู้สึกไม่เท่าเทียมให้กลับคืนมา
วิธีการลดความไม่เท่าเทียมคือรูปแบบในการให้ค่าตอบแทน เช่น จ่ายตามชั่วโมงทำงานหรือจ่ายตามจำนวนชิ้นงาน สมมติฐาน 4 แบบ  ในการพิจารณาว่าคนเราจะสามารถลดความรู้สึกไม่เสมอภาค  ได้หรือไม่ได้แก่                                                                                                                        
1.ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นต่อชั่วโมง (Overpayment-hourly) โดยทำงานหนักขึ้นหรือพยายามมากขึ้น โดยการเพิ่มต้นทุนของพวกเขา เช่น พยายามมากขึ้น พวกเขาจะลดความรู้สึกไม่เท่าเทียมลงได้ ความพยายามที่เพิ่มขึ้นจะเห็นได้จากจำนวนหรือคุณภาพของงานที่ออกมา 
2.  ค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นต่อชิ้นงาน (Overpayment-piece rate) กลุ่มเป้าหมายจะทำงานมากขึ้น ซึ่งหมายถึง  การเพิ่มผลลัพธ์ อย่างไรก็ตาม ถ้าพวกเขาพยายามมากขึ้นเพื่อผลลัพธ์ที่มากกว่า ความรู้สึกไม่เสมอภาคก็จะมากขึ้น ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายของสถานการณ์นี้จะผลิตน้อยลงแต่มีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม   
3.ค่าตอบแทนที่น้อยลงต่อชั่วโมง (Underpayment-hourly) กลุ่มเป้าหมายจะลดความพยายามให้เหมาะกับผลลัพธ์ที่น้อยลง ผลที่ได้คือคุณภาพและจำนวนของงานที่ลดลง   
4. ค่าตอบแทนที่น้อยลงต่อชิ้นงาน (Underpayment-piece rate) จากการตอบแทนที่น้อยลง กลุ่มเป้าหมายจะผลิตมากขึ้นแต่คุณภาพด้อยลง
 
การที่เราจะพยายามมากขึ้นหรือน้อยลงเพื่อลดความไม่เสมอภาค เรียกว่า การกระทำ (Behavioral)  แบ่งเป็น 3 วิธี  
1)ปรับระดับความพยายามหรือการเปลี่ยนต้นทุนของคน เป็นเหมือนทฤษฎีการคาดเดา      
2) ปรับเปลี่ยนต้นทุนของตน เช่น เรียกร้องเพื่อขอค่าตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อมีความรู้สึกว่าค่าตอบแทนน้อยเกินไป     
3) ไปหาผู้อื่นเพื่อเปลี่ยนต้นทุนหรือผลลัพธ์ของเขาโดยใช้ความเป็นเพื่อนกัน กดดันคนอื่นให้ทำงานเร็วขึ้นหรือช้าลง
อย่างไรก็ตาม วิธีคิด (Cognitive) เพื่อลดความไม่เสมอภาค หมายถึง ตัวเราไม่ต้อง                    ทำอะไร   แต่เราสามารถลดความไม่เสมอภาคผ่านทางจิตใจได้ มีหลายวิธี 
1)  บิดเบือนมุมมองที่มีต่อต้นทุนหรือผลลัพธ์ของตัวเอง เช่น ฉันไม่ได้ทำงานหนักขนาดนั้น หลังจากฉันใช้เวลาไปพอสมควรในการคุยกับเพื่อน และผลลัพธ์อาจจะบิดเบือนได้ในลักษณะเดียวกัน การเปรียบเทียบความเสมอภาคกับการจัดสรรรางวัลมีผลกระทบต่อผู้ถูกจูงใจ  ผู้บริหารจะต้องหาวิธีการให้ผู้ถูกจูงใจเกิดการรับรู้ว่ารางวัลนั้นพิจารณาจากผลลัพธ์ที่แท้จริง  โดยผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพมีแนวความคิดการจัดการกับการเปรียบเทียบความเสมอภาค 3 ประการดังกล่าวข้างต้นและจากการวิจัยพบว่า      
2)  บิดเบือนข้อมูลของผู้อื่น เช่น ทำไมเธอต้องพยายามทำให้นายขนาดนั้น ฉันไม่เห็นต้องทำเลยเห็นได้ว่าการสร้างความยากในการเปรียบเทียบระหว่างการทำงาน การบิดเบือนในต้นทุน (เช่น เวลาและความพยายาม) เกิดขึ้นบ่อยกว่าการบิดเบือนผลลัพธ์ (เช่น เงินเดือนเพิ่มขึ้นหรือการเลื่อนตำแหน่ง) สุดท้าย ถ้าคนอื่นทำให้เรารู้สึกไม่เท่าเทียม เราอาจหาวิธีเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ ต่อไป คนอื่น อาจจะเป็นตัวเราเองในงานที่เคยทำมาก่อนหน้านี้, เพื่อนร่วมงานในองค์การเดียวกัน หรือคนที่อยู่คนละหน่วยงานกัน
ทฤษฎีความเสมอภาคสนับสนุนการคาดเดา ปัญหาไม่ได้เกิดเพราะความผิดพลาดของทฤษฎี แต่เพราะข้อสันนิษฐานกับการคาดเดาไม่เที่ยงตรง มีหลายวิธีในการลดความไม่เสมอภาคและทฤษฎีก็ไม่ได้ชี้ชัดว่าควรใช้วิธีไหน ทฤษฎีความเสมอภาคจะถูกนำมาใช้เมื่อเรารู้สึกถึงความไม่เสมอภาคหรือไม่พึงพอใจ เพื่อลดหรือปลดปล่อยความไม่พึงพอใจนั้น                                                                              
1. ถ้าบุคคลรู้สึกว่าเขาได้รับรางวัลที่ไม่เท่าเทียมกัน  เขาจะไม่พอใจ และจะลดปริมาณหรือคุณภาพ  ของผลผลิต
            2. ถ้าบุคคลได้รับรางวัลที่เท่าเทียมกัน  เขาจะทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตในระดับเดิมต่อไป
            3. ถ้าบุคคลคิดว่ารางวัลสูงกว่าสิ่งที่ไม่เสมอภาค  เขาจะทำงานมากขึ้น  ดังนั้นจึงอาจจะลดรางวัลลง 
               
           ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ บุคคลจะคาดคะเนผลประโยชน์ของตนหรือคาดหวังรางวัลที่ได้รับเกินจริง  ทำให้พนักงานอาจรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคในบางครั้ง  อย่างไรก็ตามความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคนี้จะมีผลต่อปฏิกิริยาบางประการ  ตัวอย่างเช่น พนักงานอาจจะโกรธหรือตัดสินใจทิ้งงาน  เพราะเกิดความรู้สึกว่ารางวัลที่ได้รับไม่ยุติธรรม  เมื่อเปรียบเทียบกับรางวัลของบุคคลอื่น
           เมื่อเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น พนักงานส่วนมากมักประเมินว่าตนเองทำงานหนักและทุ่มเทในการปฏิบัติงานมากกว่าคนอื่น ขณะเดียวกันก็มักคิดว่าคนอื่นได้รับผลตอบแทนสูงกว่าตน เขาจะพอใจในการทำงานและมีแรงจูงใจในการทำงานสูงตราบเท่าที่เขายังรับรู้ว่ามีความเสมอภาคเมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานคนอื่น แต่ถ้าพนักงานพบว่าผู้ที่ทำงานในระนาบเดียวกับเขาได้รับผลตอบแทนสูงกว่าเขา หรือได้รับผลตอบแทนเท่ากันแต่ทำงานน้อยกว่า ความพอใจและแรงจูงใจในการทำงานจะน้อยลง เมื่อใดที่พนักงานเกิดการรับรู้ความไม่เสมอภาค เขาจะพยายามทำให้เกิดความเสมอภาคโดยการลดระดับตัวป้อนหรือไม่ก็เรียกร้องผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
            การเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นที่ทำงานในระนาบเดียวกัน ทำให้เกิดการรับรู้ 3 แบบ คือ ผลตอบแทนเหมาะสม ผลตอบแทนต่ำไป ผลตอบแทนสูงไป
ผลตอบแทนเหมาะสม (Equitably Rewarded) พนักงานรับรู้ว่าตัวป้อนและผลตอบแทนมีความเหมาะสมกัน แรงจูงใจยังคงมีอยู่ เชื่อว่าคนอื่นที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่าเป็นเพราะเขามีตัวป้อนที่สูงกว่า เช่น มีการศึกษาและประสบการณ์สูงกว่า เป็นต้น
ผลตอบแทนต่ำไป (Under-rewarded) เมื่อพนักงานคนใดรับรู้ว่าตนได้รับผลตอบแทนต่ำไป เขาจะพยายามลดความไม่เสมอภาคด้วยวิธีต่างๆ เช่น พยายามเพิ่มผลตอบแทน (เรียกร้องค่าจ้างเพิ่ม) ลดตัวป้อน (ทำงานน้อยลง มาสายหรือขาดงานบ่อยครั้ง พักครั้งละนานๆ ฯลฯ) อ้างเหตุผลให้ตัวเอง เปลี่ยนแปลงตัวป้อนหรือผลตอบแทนของคนอื่น (ให้ทำงานมากขึ้น หรือรับค่าจ้างน้อยลง) เปลี่ยนงาน (ขอย้ายไปฝ่ายอื่น ออกไปหางานใหม่) เปลี่ยนบุคคลที่เปรียบเทียบ (ยังมีคนที่ได้รับน้อยกว่า)
ผลตอบแทนสูงไป (Over-rewarded) การรับรู้ว่าได้รับผลตอบแทนสูงไปไม่มีปัญหาต่อพนักงานมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าพนักงานมักจะลดความไม่เสมอภาคด้วยวิธีเหล่านี้ คือ เพิ่มตัวป้อน (ทำงานหนักขึ้น และอุทิศเวลามากขึ้น) ลดผลตอบแทน (ยอมให้หักเงินเดือน) อ้างเหตุผลให้ตัวเอง (เพราะฉันเก่ง) พยายามเพิ่มผลตอบแทนให้ผู้อื่น (เขาควรได้รับเท่าฉัน)
การใช้ทฤษฎีความเสมอภาคในการจูงใจ
        ผลการวิจัยเพื่อทดสอบทฤษฎีความคาดหวังมีแตกต่างกัน ทำให้การใช้ทฤษฎีนี้ในทางปฏิบัติมีความยุ่งยาก เพราะว่าเราไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่ากลุ่มอ้างอิงที่บุคคลใช้เปรียบเทียบนั้นคือใคร และความรู้สึกหรือการรับรู้ในความเสมอภาคของเขาเป็นอย่างไร แต่ทฤษฎีนี้ก็ยังมีประโยชน์ถ้าหากนำไปใช้โดยมีข้อแนะนำทั่วไปดังนี้
           1.หัวหน้างานจะต้องตระหนักว่าความเสมอภาคเป็นเพียงการรับรู้ของพนักงาน ซึ่งอาจไม่ถูกต้องก็ได้ หัวหน้างานอาจทำให้พนักงานรู้สึกถึงความเสมอภาคหรือความไม่เสมอภาคได้ เช่น หัวหน้าบางคนมีพนักงานที่ตัวเองโปรดปรานเป็นคนใกล้ชิด ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ในขณะที่ละเลยต่อคนอื่นๆ      เป็นต้น
          2.การให้ผลตอบแทนหรือรางวัลต้องมีความเหมาะสม ถ้าหากพนักงานรับรู้ว่าเขาได้รับการปฏิบัติอย่างลำเอียงจะเกิดปัญหาในการปฏิบัติงานและขวัญกำลังใจขึ้น
     3.ผลการปฏิบัติงานที่ดีมีคุณภาพสูงต้องได้รับการตอบแทนหรือรางวัล แต่พนักงานต้องมีความเข้าใจว่าเขาควรใช้ความสามารถหรือตัวป้อนในระดับใดเพื่อบรรลุถึงผลที่ต้องการ
อ้างอิง

http://gotoknow.org/blog/intregration

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตนเอง


นายธวัชชัย  ทาหนองบัว  นักศึกษาปริญญาโท  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  รุ่น 2
ศูนย์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตึก  รหัสนักศึกษา  535313533  เลขที่ 38
e-mail :  oodto191919@gmail.com
Blogger: oodto191919.blogspot.com
โทร 081-9676110
ที่อยู่  1  หมู่  13  ต.ร่อนทอง  อ.สตึก  จ.บุรีรัมย์ 31150

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รูปกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ โรงเรียนบ้านปรือเกียน

กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ปีการศึกษา 2553

ผลงานดีเด่น

กตัญญู  รู้คุณ 
แม่ลูก  ผูกพัน

มวยไทยประกอบดนตรี


มวยไทย
          มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทย   ซึงเยาวชนรุ่นหลังควรจะอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของชาติต่อไป  นักเรียนควรเรียนรู้และ ฝึกปฏิบัติจริง เพื่อเพื่อการป้องกันตัว  และส่งเสริมกายออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแข็งแรง  เป็นการปลูกฝังมรดกและวัฒนธรรมของชาติไว้ให้เด็กไทยต่อไป
       ในปี 2310  กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงครั้งที่ 2  แก่พม่า   พม่าได้เผาเมืองและกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลย  นายขนนต้ม  เป็นคนไทยคนหนึ่งที่ถูกจับไปครั้งนั้น  ได้ชกกับพม่าเป็นคนแรก โดยนักมวยพม่าฝีมือดีจัดไว้ 10 คน   นายขนนต้มสามารถเอาชนะนักมวยพม่าได้  ถึงกับกษัตริย์พม่า ได้กล่าวคำชมเชยว่าคนไทยมี พิษอยู่รอบตัวและกล่าวยกย่องชมเชยนายขนนต้มว่า     เป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือยอดเยี่ยมสามารถใช้อาวุธ  หมัด  เท้า  เข่า    ศอก  ถีบ  ทำให้คู่ต่อสู้ได้รับความเจ็บปวดแสนสาหัส   มีความทรหดอดทนเป็นเยี่ยม   หาศิลปะของประเทศใด    มาเสมอเหมือน มิได้




ท่าแม่ไม้มวยไทย (ขั้นพื้นฐาน) 
                                    1. ท่าไหว้ครู (หงส์เหิร)
                                    2. หมัด
                                            - หมัดตรง  (แย็บ)  ซ้าย-ขวา
                                            -  หมัดสอยดาว  (เสย)  ซ้าย-ขวา
                                            -  หมัดเหวี่ยง  (สวิง)  ซ้าย-ขวา
                                   3. เท้า
                                            -  เตะล่าง  (เท้าขวา , เท้าซ้าย)
                                            -  เตะลำตัว  (เท้าขวา , เท้าซ้าย)
                                            -  เตะขึ้นตรง  เท้าขวา
                                   4.  ถีบ
                                            -  เท้าถีบด้านหน้า  (เหน็บ)
                                            -  เท้าซ้ายถีบด้านข้าง
                                  5.  เข่า
                                           -  เข่าขวาตรง  (โทน)
                                  6.  ศอก
                                            -   ศอกขวาตีลง
                                            -  ศอกซ้ายตีลง
                                            -  ศอกซ้ายตัด
                                            -  ศอกขวาตัด
                                            -  ศอกงัดซ้าย  -  ศอกงัดขวา


ท่ากลมวยไทย
                          จากแม่ไม้ลุกไม้มวยไทยป้องกันอาวุธจากหมัด,เท้า,เข่า,ศอก และถีบ
                                                    ป้องกันอาวุธจากหมัด 2 ท่าคือ
                                                       1.  หนุมานถวายแหวน
                                                       2.  หักคอเอราวัณ
                                                   ป้องกันอาวุธจากเท้า 2 ท่าคือ
                                                      1.   จระเข้ฟาดหาง
                                                      2.   เถรกวาดลาน
                                                   ป้องกันอาวุธจากเข่า 2 ท่า คือ
                                                      1.   ปักษาแหวกรัง
                                                      2.   ตะเพียนแฝงตอ
                                                   ป้องกันอาวุธจากศอก 2 ท่าคือ
                                                      1.  หนุมานเหยียบลงกา
                                                      2.  หักงวงไอยรา
                                                   ป้องกันอาวุธจากถีบ 2 ท่าคือ
                                                      1.  มอญยันหล
                                                      2.   กวางเหลียวหลัง